ข้อมูลทั่วไป




สภาพทั่วไปของตำบลที่รับผิดชอบ
. มะนังตายอ   อ.เมือง   จ.นราธิวาส

ประวัติความเป็นมาตำบลมะนังตายอ
                                ตำบลมะนังตายอ เมื่อประมาณ  200  ปีมาแล้ว  ได้มีกลุ่มคนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานมาจากบ้านดุซงญอจากอำเภอระแงะ และจากอำเภอต่าง ๆ ในเขตจังหวัดปัตตานี ซึ่งได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ในเขตทุ่งนา ที่ราบลุ่ม และโดยรอบ ๆ บริเวณได้มีต้นไม้ใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งต้นไม้นี้ใช้สำหรับทำยาสมุนไพรรักษาโรคบางชนิดได้ มีชื่อว่า ต้นตายอ ” (ต้นเชี่ยดดังนั้น มะนัง ”  มาจากคำว่า บือแน ”  ส่วนคำว่า ต้นตายอ ”  และได้มีประชาชนจากพื้นที่อื่น ๆ ได้อพยพเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และนิยมเรียกกันว่า มะนังตายอ

จำนวนประชากร
                                มีประชากรทั้งสิ้น  8,226  คน  แยกเป็นชาย  4,086  คน  หญิง  4,140  คน  มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ  262 คน/ตารางกิโลเมตร
                                นับถือศาสนาพุทธ                              ประมาณ                01%
                                นับถือศาสนาอิสลาม                          ประมาณ                99%

     ตำบล/หมู่บ้าน                    ชาย                  หญิง                รวม           จำนวน/หลัง
ตำบลมะนังตายอ                           4,086                      4,140                      8,226                      1,634            
หมู่  1      บ้านมะนังกาหยี                  765                         774                         1,539                      383      
หมู่  2      บ้านบือแนแล                       259                         223                         482                         85                  
หมู่  3      บ้านโคกแมแน                     531                         554                         1,085                      208
หมู่  4      บ้านโต๊ะนอ                          618                         605                         1,223                      259                
หมู่  5      บ้านสุไหงบาลา                   748                         796                         1,544                      310                
หมู่  6      บ้านจูดแดง                           584                         586                         1,170                      180                
หมู่  7      บ้านจะแลเกาะ                     581                         602                         1,183                      209                
                                                                                      
1. การเกษตรกรรม
                -     การทำนา        พื้นที่ทำนาทั้งหมด  3,735  ไร่
                -     การทำไร่         พื้นที่ทำไร่ทั้งหมด  7,124  ไร่ 
                      ปลูกมากเป็น อันดับ 1 คือ  ยางพารา
                -     การทำสวน     พืชที่ทำสวนผลไม้ทั้งหมด  1,156  ไร่ 
                      ผลไม้ที่ปลูกมากเป็น อันดับ  คือ  ลองกอง
                    ผลไม้ที่ปลูกมาก อันดับที่  คือ เงาะ  ลางสาด และละไม
  2. การอุตสาหกรรม           
                      ตำบลมะนังตายอ มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการและประกอบการจำนวน  แห่ง
  3. การพาณิชย์
                      มีสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดปานกลาง จำนวน  แห่ง และมีสถานบริการ
น้ำมันเชื้อเพลิงมือหมุน  แห่ง

ระบบการบริการพื้นฐานและสาธารณูประโยชน์
                                1. การคมนาคม
                     - มีทางหลวงแผ่นดิน  จำนวน  สาย คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  4055และ 4056
                     - มีทางหลวงชนบทจำนวน  สาย คือ สายทางบ้านทุ่งคา มะนังตายอ เป็นถนนของกรมโยธาธิการ รหัสหมายเลข นธ 2006  และถนนของ รพช. ยกให้องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ดูแลสายทางบ้านบือแนแล จูดแดง
                                2. การคมนาคมติดต่อสื่อสาร          
                      - มีที่ทำการไปรษณีย์ โทรเลขระดับตำบล  จำนวน  แห่ง
                      - มีการให้บริการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ โดยเป็นขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ขยายคู่สายโทรศัพท์เข้าไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ กำลังดำเนินการในโครงการงบประมาณนี้
                      - การไฟฟ้าได้ทำการขยายการไฟฟ้าบางส่วนซึ่งเป็นโครงการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
สาธารณูปโภค
                1.มีการประปาระดับหมู่บ้าน  มีอยู่  แห่ง  คือ
                                - ประปาหมู่บ้าน โดยมีหอถังสูงและถังกรองน้ำ  จำนวน  แห่ง คือ หมู่ที่ 3, 4, 5 ของหน่วยงานกรมโยธาธิการเป็นผู้จัดสรรงบประมาณ และหมู่ที่ 1 ของ รพช. นราธิวาส
                                - อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และทำการสูบน้ำมาใช้สำหรับอุปโภคบริโภค โดยการจัดทำถังกรองน้ำสะอาด หมู่ที่  บ้านจูดแดง ของ รพช. นราธิวาส
                                - อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และทำการสูบน้ำมาใช้อุปโภคและบริโภค  โดยการจัดทำถังกรองน้ำสะอาด หมู่ที่  บ้านมะนังกาหยี ของ รพช. นราธิวาส
                2. แหล่งน้ำกิน น้ำใช้ประเภทอื่น
                                - ถังเก็บน้ำฝน                      จำนวน                   9              แห่ง
                                -ฝายทำนบ                            จำนวน                   7              แห่ง
                                - บ่อบาดาล                           จำนวน                   3              แห่ง (ที่ใช้การได้)

สถานที่สาธารณะประโยชน์ของตำบล  
                                1. อบต. มะนังตายอ    1    แห่ง
                                2. มัสยิด   9   แห่ง
                                3. โรงเรียนบ้านมะนังตายอ
                                4. โรงเรียนบ้านจูดแดง
                                5. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขระดับตำบล
                                6. อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่    . 4    (รพช.)
                                7. โรงเรียนบ้านโคกแมแน
                                8. โรงเรียนบ้านโต๊ะนอ
                                9. โรงเรียนบ้านจะแลเกาะ
                                10.โรงเรียนบ้านสุไหงบาลา

สภาพทั่วไปของตำบล

                                ตำบลมะนังตายอ เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองนราธิวาส  ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอเมองนราธิวาส ระยะทางประมาณ  12  กิโลเมตร ได้มีถนนทางหลวงจังหวัดหมายเลข  4055 , 4056  ตอนนราธิวาส ระแงะ และถนนของกรมโยธาธิการ รหัสหมายเลข นธ 2006 ตอนบ้านทุ่งคา มะนังตายอ ตัดผ่านตามหมู่บ้านต่าง ๆ ในเขตตำบลมะนังตายอ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ  21,875  ไร่ หรือ  35  ตารางกิโลเมตร และเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ประมาณ  820  ไร่

อาณาเขต

                ทิศเหนือ                ติดต่อ                     ตำบลละหาร  อำเภอยี่งอ  จังหวัดนราธิวาส
                ทิศใต้                     ติดต่อ                     ตำบลบางปอ  อำเภอเมืองนราธิวาส
                                                                                ตำบลตันหยงมัส  อำเภอระแงะ  จังหวัดนราธิวาส
                ทิศตะวันออก       ติดต่อ                     ตำบลบางปอและตำบลลำภู  อำเภอเมืองนราธิวาส
                                                                                จังหวัดนราธิวาส
                ทิศตะวันตก          ติดต่อ                     ตำบลละหาร  อำเภอยี่งอ  จังหวัดนราธิวาส

สภาพภูมิประเทศ
                                สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ทุ่งนา พื้นที่ราบลุ่มติดกับสระน้ำและคูคลองที่ขุดเพื่อการระบายน้ำ จะมีลำคลองยะกัง ซึ่งได้รับจากเทือกเขาในอำเภอระแงะไหลผ่านไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ ในเขตตำบลมะนังตายอ ซึ่งในช่วงฤดูฝนชุกหรือน้ำไหลหลากทำให้พื้นที่ต่าง ๆ ที่คลองยะกังผ่านทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณหมู่บ้านต่าง ๆ ในเขตตำบลมะนังตายอ

สภาพภูมิอากาศ
                                ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อนมี  ฤดู  คือ
                                1. ฤดูร้อน         อยู่ระหว่าง  เดือนกุมภาพันธ์    ถึง   เดือนเมษายน
                                2. ฤดูฝน           อยู่ระหว่าง  เดือนพฤษภาคม    ถึง   เดือนมกราคม
สภาพการเมือง/การปกครอง
                                ตำบลมะนังตายอ แบ่งเขตการปกครองเป็น  หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้าน อพป.  3  หมู่บ้าน  มีหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น  แห่ง คือ องค์การบริหารตำบลมะนังตายอ
                รายชื่อและหมู่บ้าน
                กำนัน                                                                     นายยูลกิปลี                           อาแวกะจิ
                หมู่ที่  1                   บ้านมะนังกายี                      นายยูลกิปลี                           อาแวกะจิ
                หมู่ที่  2                   บ้านบือแนแล                       นายอับดุลอารีฟ                   สะมะแอ
                หมู่ที่  3                   บ้านโคกแมแน                     นายฮาซัน                             สะอะ
                หมู่ที่  4                   บ้านโต๊ะนอ                          นายซาการียา                        ยีดิง
                หมู่ที่  5                   บ้านสุไหงบาลา                   นายรอซาลี                            หะยีมะปีเยาะ
                หมู่ที่  6                   บ้านจูดแดง                           นายสุรเดช                            แวสุหลง
                หมู่ที่  7                   บ้านจะแลเกาะ                     นายมาหามะ                         มะแซ
                                               
เศรษฐกิจของตำบล
                                อาชีพหลัก คือ   การทำนา     การทำสวน/ทำไร่
                                อาชีพรอง  คือ   รับจ้าง
                ราษฎรในพื้นที่ตำบลมะนังตายอ ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราและทำนาข้าวเป็นหลัก และทำสวนผลไม้ต่าง ๆ รวมทั้งออกไปประกอบอาชีพรับจ้างในเทศบาลเมืองนราธิวาส และในพื้นที่อื่น ๆ
พืชเศรษฐกิจ คือ ยางพารา

ความภูมิใจของคนในตำบล
                นายก อบจ. คนปัจจุบันของจังหวัดนราธิวาส คือ นายกูเซ็ง        ยาวอฮะซัน  ซึ่งเป็นคน  ม. 1มะนังตายอโดยกำเนิด
ผู้นำโดยตำแหน่ง
                กำนัน          คือ  นายยูลกิปลี              อาแวกะจิ

                ผู้ใหญ่บ้าน  คือ
   . 1                      นายยูลกิปลี           อาแวกะจิ
                   . 2                      นายอับดุลอารีฟ   สะมะแอ
   . 3                      นายฮาซัน             สะอะ
   . 4                      นายซาการียา       ยีดิง
   . 5                      นายรอซาลี            หะยีมะปีเยาะ
   . 6                      นายสุรเดช            แวสุหลง
   . 7                      นายมาหามะ         มะแซ

ผู้นำ อช.
                                ผู้นำ อช. ฝ่ายหญิง คือ         นางแมะแย           สะอิ        . 7
                                ผู้นำ อช. ฝ่ายชาย  คือ          นายสักรินทร์        รอแม      . 5
โต๊ะอิหม่าม
                                รายชื่อ                                                                      มัสยิด                           ที่ตั้ง
1. นายอัดุลรอแม                  เจะยิ                                       สุไหงบาลา                    . 5
2. นายสะตอปา                    สาและ                                   อัตตักวา                            . 3
3. นายสือแม                         หะยีดือเร๊าะ                          นูรุดดีเนียะห์                   . 7             
4. นายกอเซ็ง                        เจะมามะ                                นูรุดฮูดา                           . 2
5. นายยีดิง                             อาแว                                      อุดินนูฮา                          . 4             
6. นายมามุ                             มะแซ                                     อุรวาติลวุสกอ                  . 6
7. นายมะซูยี                         ตาเฮ                                       ดารุลมุนตะฮาร์               . 4
8. นายสะดี                            ดอเลาะ                                  ดารุลอีหมาม                    . 6
9. นายนิอาแซ                      นิเง๊าะ                                    อัลลุสฎอ(ปาตัสปาลู)     . 1
ผู้นำตามธรรมชาติ (ปราชญ์ชาวบ้าน)
                                นายเจ๊ะมูดอ          สาและ         หมอกระดูก       บ้านเลขที่  20  . 2 .มะนังตายอ
.เมือง  จ.นราธิวาส
                                นายมะปีเย๊าะ        มามุ               หมอกระดูก       บ้านเลขที่  10  . 4 .มะนังตายอ  อ.เมือง  จ.นราธิวาส
องค์กรต่าง ๆ
                                   โรงเรียนตาดีกา
                                1. โรงเรียนสุไหงบาลา                       . 5
                                2. โรงเรียนนูรุลตักวา                         . 3
                                3. โรงเรียนนูรุดดีเนียะห์                   . 7
                                4. โรงเรียนนูรุดฮุดา                            . 2
                                5. โรงเรียนอุดินนูฮา โต๊ะนอ            . 4
                                6. โรงเรียนดะวาตุลอีมาน                  . 6
                                7. โรงเรียนตัรมียะห์อัลเอาลาด         . 6
                                8. โรงเรียนดารุลมุนตะฮาร               . 4
9. โรงเรียนอัลลุสฎอ                           . 1

องค์การบริหารส่วนตำบล                ตั้งอยู่   ม. 5   .มะนังตายอ  อ.เมือง  จ.นราธิวาส 
                นายแวรอมือลี      แวสุหลง                ปลัด อบต.

ศูนย์ปฏิบัติการประจำตำบล             ตั้งอยู่   ม. 5   .มะนังตายอ  อ.เมือง  จ.นราธิวาส
                นายกิตตินันท์  เซ็งสะรี                      ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการ
                                                ประวัติหมู่บ้าน

ประวัติหมู่บ้าน    บ้านมะนังกาหยี  หมู่ที่  1      ตำบลมะนังตายอ
                หมู่บ้านมะนังกาหยี ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ตำบลมะนังตายอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส  เมื่อประมาณ  150  ปีมาแล้ว ได้มีกลุ่มคนจากอำเภอระแงะย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และจากอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ซึ่งได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานจนกลายเป็นชุมชน  ซึ่งรอบ ๆ บริเวณจะเต็มไปด้วยต้นกาหยีและมะนังมาจากคำว่า บือแน แปลว่า ท้องนา ต่อมาได้มีประชาชนจากพื้นที่อื่น ๆ อพยพเข้ามาเพิ่มเป็นชุมชนใหญ่ และนิยมเรียกกันว่า มะนังกาหยี จนถึงปัจจุบันนี้

ประวัติหมู่บ้าน   บ้านบือแนแล        หมู่ที่  2      ตำบลมะนังตายอ
                ในสมัยก่อนได้มีนกตัวหนึ่ง  ชื่อว่า  นกอินทรี  ได้เข้าไปทำรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่  ซึ่งต้นไม้ต้นนั้นอยู่ในทุ่งนา  ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า  นกแล  บือแนแปลว่า  ทุ่งนา   แลแปลว่า  นก  หลังจากนั้นก็มีชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าบ้านบือแนแล
ประวัติหมู่บ้าน    บ้านโคกแมแน     หมู่ที่  3      ตำบลมะนังตายอ
                เดิมบ้านแมแนเป็นที่ของสงฆ์  มีพระรูปหนึ่งชื่อ แดง  พระรูปนี้มีเพื่อนสนิทอยู่คนหนึ่ง ชื่อว่า แม เดิมอยู่ที่อำเภอบาเจาะ  แมคนนี้เดินทางมาพบกับพระแดง  พระแดงได้ชวนแมให้ย้ายมาอยู่ด้วยกัน  ประกอบกับบริเวณที่พระแดงอาศัยอยู่นั้นเป็นทุ่งนา ภาษามลายูเรียกว่า บือแน  พระแดงตั้งชื่อว่า   โต๊ะแมแน ”  ปัจจุบันนี้เรียกว่า บ้านโคกแมแน หรือ บ้านแมแน  ส่วนที่ดินที่พระแดงอาศัยอยู่นั้น  เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์เพื่อการเลี้ยงสัตว์  ปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนบ้านโคกแมแน จำนวน  181  ไร่

ประวัติหมู่บ้าน   บ้านโต๊ะนอ                            หมู่ที่  4      ตำบลมะนังตายอ
                มีชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมา  เดิมชื่อของหมู่บ้านนี้เป็นชื่อของผู้ชายคนหนึ่งที่เข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณป่าแห่งนี้  ครอบครัวนี้มีทั้งหมด  คน  ชาย  คน  หญิง  คน  นับถือศาสนาพุทธ  ในครอบครัวนี้มีนายนอเป็นหัวหน้าครอบครัว  และได้สร้างบ้านเล็ก ๆ หรือกระท่อมในบริเวณป่าแห่งนี้  แต่อยู่ได้ไม่นาน นายนอผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวได้เสียชีวิตลง ส่วนคนในครอบครัวได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น  ศพของนายนอได้ฝังไว้ใกล้บริเวณที่พวกเขาอาศัยอยู่ และทำให้คนเรียกกันติดปากว่าบริเวณบ้านนายนอ ”  ต่อมาระยะหลังได้เปลี่ยนเรียกกันว่า  โต๊ะนอ โต๊ะในที่นี้หมายถึง  ผู้นำ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชาวบ้านจึงนิยมเรียกกันเป็นชื่อของหมู่บ้าน  คนกลุ่มแรกเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน (ไม่สามารถระบุชื่อได้เป็นชาวปัตตานีและชาวดุซงญอ ชาวดุซงญอได้เข้ามาอาศัยอยู่บริเวณแห่งนี้ หลังจากที่ครอบครัวของนายนอทั้ง  คนได้อพยพย้ายถิ่นฐานไปแล้ว  และได้ก่อตั้งเป็นหมู่บ้านประมาณ  200  ปีมาแล้ว  สาเหตุที่คนเหล่านั้นอพยพมาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านแห่งนี้ เราะต้องการมีแหล่งทำมาหากินและต้องการขยายที่ดินทำกินเป็นของตนเอง

ประวัติหมู่บ้าน   บ้านสุไหงบาลา    หมู่ที่  5      ตำบลมะนังตายอ
                  หมู่บ้านสุไหงบาลาในอดีตนั้น  จะมีตำหนักพระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในหมู่บ้านและตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำลำคลอง  แม่น้ำลำคลองของหมู่บ้านจะเชื่อมโยงกับแม่น้ำยะกัง  ซึ่งเป็นที่ทำมาหากินของชาวบ้านไม่ว่าจะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์  ซึ่งในปัจจุบันชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมจะเป็นคนรุ่นเก่า ส่วนคนรุ่นใหม่จะนิยมออกไปทำงานนอกบ้านเป็นส่วนใหญ่  สัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันมากสมัยก่อนคือควาย  แต่ควายของชาวบ้านสุไหงบาลาไม่เหมือนควายของที่อื่น คือควายจะเป็นสีขาว เรียกว่า ควายบาลา”  ดังนั้นชาวบ้านก็มีความคิดที่เอาชื่อของตำหนักมาตั้งเป็นชื่อของหมู่บ้าน และนึกภาพของแม่น้ำลำคลองซึ่งเป็นที่ทำมาหากินของชาวบ้าน  จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า   หมู่บ้านสุไหงบาลา

ประวัติหมู่บ้าน    หมู่บ้านจูดแดง    หมู่ที่  6      ตำบลมะนังตายอ
                บ้านจูดแดงมีความเป็นมายาวนานซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ลูกหลานฟัง  เดิมที่หมู่บ้านแห่งนี้เป็นป่าดงดิบ  และมีสัตว์ร้ายอาศัยอยู่มากมาย  แต่มีผู้ชายคนหนึ่งชื่อว่า โต๊ะแมเราะ ไม่ทราบว่าอพยพมาจากไหนได้เข้ามาอาศัยและสร้างบ้านโดยปลูกต้นกระจูดไว้และต้นกระจูดได้ขยายพันธุ์มากมายและโต๊ะแบเราะก็ได้สานต้นกระจูดเพื่อเอาไปแจกเพื่อนบ้าน จนกลายเป็นที่เลื่องลือว่า หมู่บ้านนั้นมีต้นกระจูดมากและมีคนสานกระจูดได้สวยงาม ต่อมามีคนเริ่มอพยพเข้ามาก็เลยเรียกหมู่บ้านนี้ตามชื่อของโต๊ะแมเราะ แปลว่า โต๊ะแดง และเมื่อทางการเข้ามาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น หมู่บ้านจูดแดง จนถึงปัจจุบัน สภาพป่าปัจจุบันก็ได้ถูกโค่นลงเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งหมู่บ้านจูดแดงเปรียบเสมือนมีสองหมู่บ้านในหมู่บ้านเดียวกัน  จากป่าที่เคยมีต้นกระจูดปัจจุบันเหลือน้อยมากและแทบจะไม่ค่อยเห็น  ส่วนลูกหลานในหมู่บ้านก็ไม่มีใครยึดอาชีพหลักสานกระจูดดังแต่ก่อน สัตว์ป่าที่เคยมีก็ลดน้อยลง เนื่องจากความเจริญทางด้านสังคมและวัตถุแทรกเข้ามา

ประวัติหมู่บ้าน  บ้านจะแลเกาะ      หมู่ที่  7      ตำบลมะนังตายอ
                แรกเดิมหมู่ที่  นี้จะเป็นหมู่บ้านจัดตั้งใหม่เมื่อไม่นานกี่ปีมานี้เอง คือแบ่งจากหมู่  ที่  กับหมู่ที่  มาตั้งเป็นหมู่ที่  เป็นหมู่บ้านแนวถนนใหญ่แบ่งจากซีกตะวันออกจากโรงงานดินขาวมาตามแนวถนนใหญ่จดเขตเขากง ต.ลำภู จากซีกตะวันตกก็มาจากถนนสายใหญ่เช่นกันจนถึงทางแยกเข้าหมู่บ้านจดเขตหมู่ที่  บ้านโต๊ะนอและหมู่ที่  บ้าน           สุไหงบาลา มีเนื้อที่ประมาณ  7,864  ไร่  ปัจจุบันหมู่  เป็นหมู่บ้านที่มีการสัญจรไปมาอย่างสะดวกเพราะถนนทุกสายในหมู่บ้านลาดยาง
ประวัติความเป็นมาตำบลมะนังตายอ
                        ตำบลมะนังตายอ  เมื่อประมาณ  200  ปีมาแล้ว  ได้มีกลุ่มคนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานมาจากดุซงญอ อำเภอระแงะ และจากอำเภอต่าง ๆ ในเขตจังหวัดปัตตานี ซึ่งได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ในเขตทุ่งนา ที่ราบลุ่ม และโดยรอบ ๆ บริเวณได้มีต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ซึ่งต้นไม้นี้ใช้สำหรับทำยาสมุนไพรรักษาโรคบางชนิดได้ มีชื่อว่า ต้นตายอ ” (ต้นเชี่ยดดังนั้นมะนัง มาจากคำว่า บือแน ส่วนคำว่า ต้นตายอ และได้มีประชาชนจากพื้นที่อื่น ๆ ได้อพยพเข้ามาเพิ่มขึ้น และนิยมเรียกกันติดปากว่า มะนังตายอ
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
---------------------------
               
                                สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์  ตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์  กลยุทธ์และงาน/โครงการที่สอดคล้องกับสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและภารกิจของหน่วยงาน ดังนี้

วิสัยทัศน์   
                                สำนักงาน กศน. เป็นองค์กรหลักในการสร้างสังคมอุดมปัญญา ด้วยการจัดการให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน อย่างมีคุณภาพและทั่วถึง

พันธกิจ 
                            1. มุ่งมั่น สร้างสรรค์พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
ตามหลักธรรมาภิบาลและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
                                2.  พัฒนาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ
                               3.เร่งรัด ส่งเสริม สนับสนุนและกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมหรือ
จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                               4. พัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ผู้เรียน/ผู้รับบริการมีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน/คุณภาพการศึกษา
                                5. เร่งรัดพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือนสามัญ ครู กศน. และภาคีเครือข่ายให้ได้มาตรฐาน

เป้าประสงค์  
                                1. หน่วยงาน สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพยึดหลักธรรมาภิบาลและมีภาพลักษณ์ที่ดี
                                2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีศักยภาพเพื่อให้การบริหาร การบริการและการเรียนรู้เกิดประสิทธิผล
                                3.ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุม เป็นธรรม
                                4.ภาคีเครือข่ายมีศักยภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                                5.มีแหล่งการเรียนรู้กระจายอยู่อย่างพอเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้
                                6.ส่งเสริมให้ชุมชนจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข็งแข็งของชุมชน
                                7.ผู้เรียน/ผู้รับบริการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน/คุณภาพการศึกษา ได้แก่ มีความใฝ่ฝันเรียนรู้ มีทักษะการทำงานและการพัฒนาคุณภาพชีวิต
มีคุณธรรมนำความรู้ และมีทักษะการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                               8.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือนสามัญ ครู กศน. และภาคีเครือข่ายมีศักยภาพในการปฏิบัติงานและการจัดการการศึกษาที่มีคุณภาพ

ตัวชี้วัด
                               1.รายงานผลการประเมินการปฏิบัติราชการด้านประสิทธิภาพและ
การพัฒนาองค์กรตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีอยู่ในระดับดี
                                2.ร้อยละของผู้รับบริการ มีความพึงพอใจต่อการรับบริการในระดับมากขึ้นไป
                                3.ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

                                4.จำนวนหน่วยงาน/สถานศึกษาที่เข้าถึงและใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                                5.จำนวนผู้เรียน/ผู้รับบริการที่เข้าถึงและใช้บริการเครือข่ายความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
                                6.จำนวนระบบข้อมูลสารสนเทศที่ให้บริการกับหน่วยงาน
                                7.จำนวนผู้รับบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ
                                8.จำนวนผู้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัย
                                9.จำนวนผู้รับบริการการศึกษาต่อเนื่อง
                                10.จำนวนภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                                11.จำนวนแหล่งการเรียนรู้ที่มีความพร้อมในการให้บริการ
                               12.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากการประเมินระดับชาติเพิ่มขึ้นวิชาละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ในปี 2554
                               13.ร้อยละของผู้เรียน/ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบแต่ละหลักสูตรสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
                               14.จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือนสามัญ ครู กศน. และภาคีเครือข่ายที่ได้รับการพัฒนา
                                15.   จำนวนองค์กร/หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน
15.1  องค์กร/หน่วยงานภาคีเครือข่ายภาครัฐ
15.2  องค์กร/หน่วยงานภาคีเครือข่ายภาคเอกชน
ยุทธศาสตร์ 
                               1.พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาลและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
                               2.ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนการบริหาร การบริการและการเรียนรู้
                                3.สร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนและกลุ่มบุคคล
                                4.พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                               5.เสริมสร้างความเข้มแข็ง และประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือนสามัญ ครู กศน. และภาคีเครือข่าย

กลยุทธ์/โครงการ 
                                1.พัฒนาระบบบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงาน
                                                1.งานนโยบาย ยุทธศาสตร์และการประสาน ส่งเสริมการดำเนินงานตามภารกิจของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                                                2.โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบ Call Center (1660)
                                                3.โครงการพัฒนาระบบราชการ (PMQA)
                                                4.โครงการส่งเสริมการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในหน่วยงานและสถานศึกษา
                                                5.โครงการประชุมคณะกรรมการทุกระดับและคณะอนุกรรมการ
                                2.พัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการ
                                                โครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการให้บริการ
                                3.พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้
                                             1.โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านระบบสารสนเทศ
(
e-Learning)
                                                2.โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้
                                4.จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้หลากหลายครอบคลุมทุกพื้นที่ ทุกกลุ่มเป้าหมาย
                                                1.โครงการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
                                                2.โครงการพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิต
                                                3.โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชน
                                                4.โครงการยกระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงาน
                                               5.โครงการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับเด็กและเยาวชนที่อยู่
นอกโรงเรียน  (กศดน.)
                                               6.โครงการส่งเสริมการรู้หนังสือให้กับกลุ่มเป้าหมายชาวไทยภูเขา
และชาวไทยมุสลิม
                                                7.โครงการฝึกทักษะอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
                                                8.โครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร (ภาษาจีนและอังกฤษ)
                                               9.โครงการจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยสำหรับ
คนไทยในต่างประเทศ
                                                10.โครงการเสริมสร้างความอบอุ่นและความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและเยาวชนนอกโรงเรียน
                                                11.โครงการส่งเสริมและประสานความร่วมมือภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ
                                                12.โครงการส่งเสริมการจัดบริการการศึกษาตามอัธยาศัย
                                                                12.1  บริการกิจกรรมด้านห้องสมุดประชาชน
                                                                12.2  บริการกิจกรรมด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
                                                                12.3  บริการกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
                                                13.โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
                                                14.โครงการอาสาสมัครส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตระดับหมู่บ้าน
                                                15.โครงการจัดกระบวนการการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                                                16.โครงการจัดกระบวนการการเรียนรู้ในเขตพื้นที่โครงการพระราชดำริและความมั่นคง
                                5.เร่งรัดพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                                               1.โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบ                                                                     
                                               2.โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดบริการการศึกษาตามอัธยาศัย
                                                3.โครงการศีลธรรมนำความรู้กลับคืนสู่ชุมชน
                                                4.โครงการวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                                6.พัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
                                                  โครงการ กศน. เสริมสร้างการเรียนรู้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
                                7.พัฒนาศักยภาพและความก้าวหน้าของข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือน ครู กศน. และภาคีเครือข่าย
                                                1.โครงการพัฒนาบุคลากร
                                                               1.1โครงการพัฒนาศักยภาพข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และข้าราชการพลเรือน
                                                                1.2โครงการเสริมสร้างสมรรถนะครู กศน.
                                                                1.3โครงการพัฒนาความพร้อมในการปฏิบัติงานของภาคีเครือข่าย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น