วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558

                                               ณ ห้องประชุมสำนักงานจังหวัดนราธิวาส
                                                        วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558  

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

โครงการส่งเสริมรัก การอ่าน

โครงการส่งเสริมปัญญา  ๒  เมษา   วันรักการอ่าน
วันที่   ๒    เมษายน   ๒๕๕๖
ณ   ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนราธิวาส
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนราธิวาส









          การพูด การอ่าน การเขียน การฟัง กริยาเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  แต่ปัจจุบันด้วยความที่เรามีเวลาที่จำกัด จึงทำให้คนไทยห่างเหินกับกิจกรรมเหล่านี้ โดยเฉพาะการอ่านหนังสือ รัฐบาลซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงมีคุณูปการต่อวงการหนังสือไทย เป็น "วันรักการอ่าน" ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 เป็นต้นมา         
          ซึ่งจากรายงานของสำนักสถิติแห่งช าติพบว่า การอ่านหนังสือของเด็กไทยจากเดิม 52 นาทีต่อวัน เหลือเพียง 39 นาที เนื่องจากเด็กและเยาวชน   ส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการเล่นคอมพิวเตอร์และดูโทรทัศน์มากขึ้น  คณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ จึงกำหนด "วันรักการอ่าน" ขึ้นมา เพื่อรณรงค์และปลูกฝังให้เด็ก ๆ และเยาวชนหันมาอ่านหนังสือมากขึ้น          
          โดยในแต่ละปีนั้น จะมีการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ (Bangkok International Book Fair) ขึ้นในช่วงเวลาของวันที่ 2 เมษายนของทุก ๆ ปี เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ต้องการให้ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาของการอ่านหนังสือ โดยเด็ก ๆ และเยาวชน สามารถมาร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ เพื่อเลือกซื้อหนังสือดีราคาถูก ที่แต่ละสำนักพิมพ์ขนมาจำหน่ายในงาน ทั้งหนังสือภาพสำหรับเด็ก หนังสือนิทาน หนังสือวิชาการ หนังสือสารคดี หนังสือนวนิยาย หนังสือการ์ตูนประวัติศาสตร์ อาทิ ประวัติบุคคลสำคัญของไทย หรือ ประวัติบุคคลสำคัญของนานาประเทศ เป็นต้น
          แต่การสรรหาหนังสือ ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน แต่อยู่ที่ตัวของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องเข้าให้ถึงความต้องการของเด็ก ๆ โดยต้องรู้ก่อนว่า เด็กในวัยนี้อยากเรียนรู้เรื่องอะไร เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่ จะได้สรรหาสิ่งนั้นมาให้อย่างถูกต้อง และตรงตามพัฒนาการที่เขาพร้อมจะเรียนรู้อย่างเข้าใจด้วย เพราะเด็กในแต่ละวัยมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน และสุดท้ายคุณพ่อคุณแม่ ต้องไม่กังวลว่าบ้านจะรกเต็มไปด้วยหนังสือ เพราะการที่เด็ก ๆ เห็นหนังสือจนชินตา เขาก็จะรู้สึกคุ้นเคยและต้องการหยิบขึ้นมาอ่านเอง โดยที่ไม่ต้องบอกให้เขารักการอ่านเลย

          วันนี้ อาจยังไม่สาย หากคุณพ่อคุณแม่ จะเริ่มปลูกฝังให้ลูก ๆ ของท่านรักการอ่าน โดยเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการหาหนังสือซักเล่มที่เหมาะสมกับวัย และพัฒนาการมาให้ลูก ๆ ของท่านได้อ่าน และเรียนรู้ที่จะมีหนังสืออยู่รอบ ๆ ตัวของเขาเอง

โครงการคุณธรรมจริยธรรม


 
เมื่อวันที่  ๒๙  มีนาคม  ๒๕๕๖
กศน.เมืองนราธิวาสได้จัดโครงการ
"ปลูกฝังคุณธรรมนำศาสนาพัฒนาคุณภาพชีวิต นักศึกษากศน.เมืองนราธิวาส"
ณ  ห้องประชุม สนง.กศน.จังหวัดนราธิวาส
 
 
 



 


 
                     กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนาและสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข
                    ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ๘ คุณธรรมพื้นฐาน ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย
               ๑) ขยัน
          ขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ อดทน ความขยันต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญา แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จ
          ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรเป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง
               ๒) ประหยัด
          ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของแต่พอควรพอประมาณ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ
          ผู้ที่มีความประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ
               ๓) ความซื่อสัตย์
          ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรงไม่เอนเอียงไม่มีเล่ห์เหลี่ยมมีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ
          ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง
               ๔) มีวินัย
          มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม
          ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฏ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ
               ๕) สุภาพ
          สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ
          ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย
               ๖) สะอาด
          สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
          ผู้ที่ความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัยสิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว จึงมีความแจ่มใสอยู๋เสมอ
               ๗) สามัคคี
          สามัคคี คือ ความพร้อมเพียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้องการเกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์
          ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ
               ๘) มีน้ำใจ
          มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจเห็นคุณค่าในเพื่อน มนุษย์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน
          ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่นเข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556



ประชาสัมพันธ์รับสมัครนักศึกษา

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนราธิวาส 
 โดย กศน.ตำบลมะนังตายอ
 เปิดรับสมัครนักศึกษาขั้นพื้นฐาน  ประจำปีการศึกษา  2556 
 ดังนี้
  • นักศึกษาขั้นพื้นฐาน  (  หลักสูตร  2  ปีต่อระดับการศึกษา)
เปิดรับสมัคร
                        ระดับประถมศึกษา
                        ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
                        ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • นักศึกษาเทียบระดับการศึกษา  (หลักสูตร  6  เดือนต่อระดับการศึกษา)
เปิดรับสมัคร

                        ระดับประถมศึกษา
                        ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
                        ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • นักศึกษาเทียบระดับการศึกษาสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรจบม.6 ใน 8 เดือน)
เปิดรับสมัคร
                        นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนต้น
  • นักศึกษา EP  (English  Program)     หลักสูตร  2  ปีต่อระดับการศึกษา
เปิดรับสมัคร                     ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

สนใจติดต่อ/สอบถามรายละเอียดได้ที่  กศน.ตำบลมะนังตายอ  และกศน.อำเภอเมืองนราธิวาส
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป - 30 เมษายน  2556

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

โครงการบำเพ็ญประโยชน์

เมื่อวันที่  ๑๒  มีนาคม  ๒๕๕๖ 
กศน.เมืองนราธิวาส  ได้จัดโครงการ ลูกเสือ ยุวกาชาด บำเพ็ญประโยชน์ 
ณ  หาดนราทัศน์  ตำบลบางนาค  อำเภอเมือง  จังหวัดนราธิวาส